ประเภทของกล้องวงจรปิด

กล้องวงจรปิดแบบโดม

กล้องโดม เป็นกล้องวงจรปิดที่เราพบเห็นได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นภายในอาคาร, บ้านเรือน, สถานที่ราชการ หรือโรงพยาบาล เป็นต้น

เห็นได้ว่ากล้องวงจรปิดแบบโดมนั้น ส่วนมากมักจะถูกนำมาติดตั้งในอาคารไม่ใช่พื้นที่กลางแจ้ง เพราะขนาดที่เล็ก รูปทรงสวยงามเมื่อนำมาติดตั้งแล้ว ทำให้ไม่เป็นจุดสังเกตุนั่นเอง

อย่างไรก็ตามถึงแม้จะมีรูปร่างหน้าตาที่สวยงาม ขนาดเล็กกระทัดรัดก็มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเปลี่ยนเลนซ์ได้ และระยะในการมองเห็นที่สั้นทำให้ไม่เหมาะแก่การตรวจจับภาพในระยะไกล

ส่วนข้อดีก็คือกล้องแบบโดมเมื่อโดนกระแทกแล้วมุมกล้องเปลี่ยนแปลงได้ยาก ทำให้ไม่ต้องตั้งมุมกล้องใหม่บ่อยๆ การดูแลรักษาก็สามารถทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ส่วนการติดตั้งก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย ติดตั้งแล้วสวยงามเหมือนเป็นเฟอร์นิเจอร์ในบ้านอีกชิ้นนึงกันเลยทีเดียว

 
 
กล้องวงจรปิดแบบกระบอก

กล้องวงจรปิดแบบกระบอก ก็เป็นกล้องวงจรปิดที่เราพบเห็นได้บ่อยในชีวิตประจำวันเช่นกัน แตกต่างกันที่มักจะพบเห็นที่บริเวณภายนอกอาคารมากกว่าภายในตัวอาคาร เพราะกล้องวงจรปิดแบบกระบอกนั้นสามารถทนต่อความร้อนของแดด และละอองน้ำจากฝนได้มากกว่า จึงถูกนำมาติดตั้งเพื่อตรวจจับภาพบริเวณสวนสาธารณะหรือรอบๆอาคารนั้นเอง

กล้องวงจรปิดแบบกระบอกแตกต่างกันกล้องวงจรปิดแบบโดม เนื่องจากสามารถปรับระยะเลนส์ตามที่ต้องการได้ เหมาะกับงานติดตั้งแบบมืออาชีพ เพราะจำเป็นต้องปรับแต่งระยะภาพและความคมชัดของภาพโดยช่างผู้มีประสบการณ์ คล้ายกับการใช้งานกล้อง DSLR ที่สามารถปรับค่าต่างๆเมื่อถ่ายภาพได้นั่นเอง

ถึงแม้จะสามารถปรับแต่งระยะภาพได้หลากหลาย ก็มีข้อด้อยเช่นกันก็คือ หากโดนกระแทกมุมภาพจะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย นอกจากนี้ในส่วนของการติดตั้งนั้น จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมได้แก่ ขาตั้ง – สำหรับยึดตัวกล้องวงจรปิดกับพื้นผิว/กำแพง , Housing หรือก็คือหลังคาสำหรับป้องกันความร้อนของแดดหรือละอองฝน ช่วยยืดอายุการใช้งานของกล้องวงจรปิดให้ยาวนานยิ่งขึ้น และสุดท้ายก็คือ เลนส์ – เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดเพื่อให้สามารถรับภาพได้ครับ

 

 

กล้องวงจรปิดสปีดโดม

กล้องวงจรปิดแบบถัดมาก็คือ กล้องวงจรปิดแบบสปีดโดม มีลักษณะคล้ายกล้องโดมแต่สามารถควบคุมทิศทางขึ้น-ลง, ซ้าย-ขวา และซูมเข้า-ออกได้อย่างอิสระนั่นเอง

กล้องวงจรปิดแบบสปีดโดมนั้นสามารถใช้ติดตั้งแทนกล้องหลายๆตัวได้ เพราะความสามารถในการควบคุมทิศทางอย่างอิสระ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งกล้องวงจรปิดได้เป็นอย่างมาก

เนื่องจากสามารถควบคุมทิศทางของมุมกล้องได้อย่างอิสระ ก็มีจุดด้อยที่อาจทำให้มองไม่เห็นบางมุมในขณะที่ทำการควบคุมได้ นอกจากนี้หากเป็นการติดตั้งภายในสำนักงาน หรือสถานที่สำคัญจะเป็นต้องมีคนคอยควบคุมทิศทางและตรวจสอบเพิ่มเติมตลอดวัน

 

 

กล้องวงจรปิดบูลเล็ต

กล้องวงจรปิดแบบ Bullet หรือในสมัยก่อนเรารู้จักกันในชื่อกล้องอินฟาเรดนั่นเอง ถือเป็นกล้องสุดฮิตที่ติดกันทั่วบ้านทั่วเมืองกันเลยทีเดียว เพราะมีความสามารถในการมองเห็นในเวลากลางคืนบริเวณพื้นที่ที่มีแสงน้อยได้ ช่วยให้สามารถป้งกันอันตรายในยามค่ำคืนได้เป็นอย่างดี

กล้องวงจรปิดแบบ Bullet นั้น ตัวเลนส์จะติดมากับตัวกล้องเลยทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ นอกจากนี้การมองเห็นในยามค่ำคืนก็มีระยะจำกัดของแสงอินฟาเรดด้วยเช่นกัน ทำให้มองเห้นได้ชัดเจนในบริเวณใกล้ๆเท่านั้น และหากเกิดอุบัติเหตุโดนกระแทกอาจทำให้มุมกล้องที่ตั้งเอาไว้เปลี่ยนแปลงได้ง่าย

คราวนี้มาพูดถึงจุดเด่นของกล้องวงจรปิดสปีดโดมกันบ้าง อย่างแรกเลยก็คือ สามารถมองเห็นในตอนกลางคืนได้ ตัวกล้องมีความแข็งแรงทนทานต่อแดดและฝนทำให้นิยมนำมาติดตั้งภายนอกอาคารหรือบริเวณสวนสาธารณะอย่างมาก

 

 

กล้องวงจรปิดโรบ๊อต, กล้องวงจรปิดไวไฟ

เป็นกล้องวงจรปิดรูปแบบใหม่ที่ปัจจุบันนำมาติดตั้งกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีราคาค่อนข้างถูก และสามารถติดตั้งได้ง่าย ใครๆก็สามารถติดตั้งได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่เมม(memory) เพื่อบันทึกข้อมูลวีดีโอที่ผ่านมาเอาไว้ดูย้อนหลังได้ และที่สำคัญคือสามารถดูภาพผ่าน โทรศัพท์มือถือ/Notebook/PC/Tablet ด้วยอินเทอเน็ตได้ทุกที่ทุกเวลาอย่างสะดวกและง่ายดาย

นอกจากสามารถดูภาพจากที่ไหนก็ได้แล้ว กล้องบางรุ่นยังสามารถพูดคุยโต้ตอบได้อีกด้วย เพราะมีอุปกรณ์ไมค์และลำโพงติดมาให้พร้อมกับตัวกล้อง ทำให้บางครอบครัวนำกล้องลักษณะนี้ไปติดตั้งภายในบ้าน, ในห้องนอนเด็กเล็ก หรือแม้แต่ดูชีวิตประจำวันของสัตว์เลี้ยงนั่นเอง

อย่างไรก็ตามกล้องวงจรปิดโรบอทหรือไวไฟก็มีข้อจำกัดด้วยเช่นกัน ก็คือไม่สามารถมอนิเตอร์ภาพกล้องวงจรปิดผ่านหน้าจอทีวีได้ ไม่เหมาะต่อการติดตั้งในบริเวณที่มีพื้นที่กว้างและต้องการใช้กล้องวงจรปิดจำนวนมาก ไม่สามารถเล่นภาพย้อนหลังเวลาเดียวกันได้ และสุดท้ายเนื่องจากใช้สัญญาณอินเทอเน็ตในการเชื่อมต่อมือถือและสัญญาณภาพกล้องวงจรปิด ทำให้การรับ-ส่งสัญญาณมีโอกาสหน่วงได้ตามความเร็วของอินเทอเน็ตครับ

 

 

14 มีนาคม 2566

ผู้ชม 1274 ครั้ง